รวม 5 เรื่องที่เจ้าของแฟรนไชส์ร้านอาหารควรรู้ ก่อนเริ่มธุรกิจ

การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์ร้านอาหารเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ต้องการเป็นเจ้าของธุรกิจ แต่ไม่อยากเริ่มต้นตั้งแต่ศูนย์ เพราะการเริ่มต้นทำร้านอาหารนั้น ต้องคำนึงทั้งเรื่องของคอนเซ็ปต์ร้าน การออกแบบเมนูต่างๆ รวมถึงการจัดการระบบภายในที่วุ่นวาย แต่ด้วยระบบแฟรนไชส์ที่มีแบบแผน มีการสร้างภาพลักษณ์แบรนด์และเมนูต่างๆ ชัดเจน สามารถบริหารงานได้ง่าย และมีโอกาสประสบความสำเร็จสูง ทำให้ธุรกิจแฟรนไชส์ร้านอาหารเป็นที่นิยมอย่างมากในปัจจุบัน

ในบทความนี้ Oceantableware จะพาทุกคนที่สนใจ อยากเริ่มเป็นเจ้าของแฟรนไชส์ร้านอาหาร ไปดูกันกว่า วิธีเริ่มต้นแฟรนไชส์ร้านอาหารมีเรื่องอะไรที่ควรรู้ ควรทราบ และควรศึกษาก่อนจะเริ่มธุรกิจแฟรนไชส์ต่างๆ บ้าง

 

รวม 5 เรื่องที่ต้องเตรียมรู้ ก่อนเปิดแฟรนไชส์ร้านอาหาร

ถึงแม้ว่าแฟรนไชส์ร้านอาหารต่างจะมีทั้งระบบแบบแผน เมนูหน้าร้าน และช่องทางติดต่อซัพพลายเออร์ให้ครบครัน ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาไปกับการเตรียมการต่างๆ แต่การเปิดแฟรนไชส์ร้านอาหารนั้นอาจจะไม่ได้ง่ายอย่างที่หลายๆ คนคิด เพราะหากไม่ได้วางแผนจัดการให้ดี ต่อให้เรามีแฟรนไชส์ร้านอาหารชื่อดังในมือ อาจจะทำให้ธุรกิจของเราล้มเหลวไม่เป็นท่าก็ได้ โดยสิ่งที่ผู้ประกอบการแต่ละคนควรจะเตรียมตัวไว้ก่อนเริ่มเปิดแฟรนไชส์ร้านอาหารนั้น มีอยู่คร่าวๆ ดังนี้

1. มองหารูปแบบแฟรนไชส์ที่เหมาะสมกับตัวเอง

การเลือกแฟรนไชส์ที่เหมาะสมกับตัวเองถือว่าเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะกำหนดความสำเร็จของธุรกิจในระยะยาวได้ เพราะการเลือกที่รูปแบบแฟรนไชส์ที่เราไม่มีความรู้ ความชำนาญ หรือความสนใจจริงๆ ก็อาจจะทำให้เราบริหารจัดการงานต่างๆ ได้ไม่ดีเท่ากับแฟรนไชส์ที่ตนเองมีความเชี่ยวชาญและความชอบเป็นทุนเดิม ดังนั้น การเลือกรูปแบบแฟรนไชส์ร้านอาหารที่เหมาะสมนั้น จึงควรพิจารณาจากเรื่องต่างๆ ดังนี้

  • ประเภทของร้านอาหาร: แฟรนไชส์ร้านอาหารในปัจจุบันนั้นมีให้เลือกหลากหลายประเภท ทั้งร้านอาหารไทย อาหารจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ยุโรป หรือแม้แต่มีเมนูสไตล์อเมริกันและฟาสต์ฟู้ดก็มีให้เลือกเช่นกัน รวมถึง ร้านเครื่องดื่ม หรือร้านขนมหวาน ของทานเล่น โดยแต่ละประเภทต่างก็มีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกัน เช่น ร้านอาหารบางประเภทอาจต้องการพื้นที่มากกว่าและมีวัตถุดิบที่หลากหลาย ในขณะที่ร้านเครื่องดื่มส่วนใหญ่อาจเน้นความรวดเร็วและต้องการพื้นที่และแรงงานน้อยกว่า
  • ความชอบและความถนัด: ควรเลือกแฟรนไชส์ที่ตนเองมีความสนใจและความถนัดเป็นทุนเดิม เพราะเราจะต้องทำงานกับมันทุกวัน การทำในสิ่งที่คุณชอบนอกจากจะทำให้มีแรงจูงใจในการพัฒนาธุรกิจแล้ว ยังเป็นการนำความรู้ความสามารถมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ ไม่ต้องกังวลเรื่องการเรียนรู้หรือลองผิดลองถูก
  • วิธีการบริหารจัดการ: แต่ละแฟรนไชส์ต่างมีรูปแบบการบริหารจัดการที่แตกต่างกัน บางแบรนด์อาจต้องการดูแลอย่างใกล้ชิดจากเจ้าของแฟรนไชส์ และมีข้อกำหนดที่เคร่งครัด ทั้งรูปแบบการทำงานและวัตถุดิบ ในขณะที่บางแบรนด์อาจมีระบบที่ช่วยให้เราสามารถบริหารจัดการได้แบบไม่ต้องอยู่ที่ร้านตลอดเวลา และยังให้อิสระในการบริหารด้านอื่นๆ อีกด้วย

2. วิเคราะห์ต้นทุน ค่าใช้จ่ายต่างๆ ของแต่ละแฟรนไชส์

แม้จะเลือกรูปแบบแฟรนไชส์ร้านอาหารที่ถูกใจได้แล้ว เรื่องของค่าใช้จ่าย เงินทุนต่างๆ ก็เป็นเรื่องที่สำคัญในการลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ เพื่อไม่ให้เม็ดเงินของเราไม่สูญเปล่า คุ้มค่ากับแรงที่ลงไป และเหมาะสมกับเงินทุนที่มีด้วย โดยค่าใช้จ่ายของธุรกิจแฟรนไชส์ร้านอาหารหลักๆ จะมีอยู่ด้วยกัน ดังนี้

  • ค่าแฟรนไชส์: แฟรนไชส์ส่วนใหญ่จะมีค่าใช้จ่ายเริ่มต้นที่ต้องจ่ายให้กับเจ้าของแฟรนไชส์ เพื่อนำมาเปิดร้าน โดยค่าแฟรนไชส์อาจมีราคาตั้งแต่หลักหมื่นไปจนถึงหลักล้านบาท ขึ้นอยู่กับความนิยมและชื่อเสียงของแต่ละแบรนด์ และสิ่งที่ได้จากค่าแฟรนไชส์ เช่น ค่าสูตรอาหาร ค่าอุปกรณ์ ค่าตกแต่งร้าน
  • ค่าวัตถุดิบ: แต่ละแฟรนไชส์อาจมีข้อกำหนดให้ต้องซื้อวัตถุดิบจากซัพพลายเออร์ที่กำหนดเท่านั้น เราจึงควรศึกษาต้นทุนวัตถุดิบเหล่านี้ว่าอยู่ในระดับที่คุณสามารถทำกำไรจากยอดขายที่คิดว่าจะทำได้หรือไม่
  • ค่าอุปกรณ์: อุปกรณ์ในครัวต่างๆ ก็เป็นค่าใช้จ่ายที่สำคัญ บางแฟรนไชส์อาจมีการกำหนดรูปแบบและมาตรฐานของอุปกรณ์ไว้ชัดเจน หรืออาจรวมถึงการใช้อุปกรณ์ของทางแบรนด์เอง เช่น กล่องข้าวพลาสติก กล่องถนอมอาหาร ถาด โหลแก้ว หม้อ เขียงไม้ แก้ว และอุปกรณ์อื่นๆ เป็นต้น
  • ค่าตกแต่งร้าน: การตกแต่งร้านให้เข้ากับคอนเซ็ปต์ของแบรนด์อาจมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง โดยเฉพาะแฟรนไชส์ที่มีการกำหนดรูปแบบการตกแต่งที่เฉพาะเจาะจง รวมถึงป้ายเมนูต่างๆ ที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงหลายๆ ครั้งต่อปี
  • ค่าใช้จ่ายรายเดือน: นอกจากต้นทุนเริ่มต้นแล้ว เรายังต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายรายเดือนอื่นๆ เช่น ค่าเช่าพื้นที่ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าแรงพนักงาน และค่ารอยัลตี (Royalty Fee) ที่อาจต้องจ่ายให้กับเจ้าของแฟรนไชส์ในแต่ละช่วงหากมีการตกลงเอาไว้

3. ประเมินความเป็นไปได้และโอกาสเติบโตของแต่ละแฟรนไชส์

แต่การจะเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ร้านอาหารที่ดีนั้น จะดูแค่ต้นทุนอย่างเดียวไม่ได้ แต่ควรที่จะเลือกจากแบรนด์แฟรนไชส์ที่ทั้งน่าเชื่อถือ เป็นที่รู้จัก และมีโอกาสเติบโตได้ในอนาคต โดยที่สิ่งที่ต้องใส่ใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ คือ

  • ชื่อเสียงของแฟรนไชส์: แบรนด์ที่มีชื่อเสียงดีย่อมมีโอกาสดึงดูดลูกค้าได้มากกว่าแบรนด์ที่ไม่เป็นที่รู้จัก ดังนั้น ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกแฟรนไชส์ร้านอาหารใดๆ มาเปิด ควรศึกษา สังเกตความนิยมของแบรนด์ในตลาดทั้งในการขายจริง และช่องทางโซเชียลมีเดีย
  • ความน่าเชื่อถือของแบรนด์: นอกจากชื่อเสียงที่ดีแล้ว ควรศึกษาหาข้อมูลด้านความน่าเชื่อถือต่างๆ ของแบรนด์ เช่น การแก้ปัญหาในการดำเนินงาน ผลตอบรับจากเจ้าของแฟรนไชส์เจ้าอื่นๆ รวมถึงปัญหาบางอย่างที่อาจส่งผลต่อการลงทุน เช่น ข้อพิพาทหรือปัญหาด้านกฎหมายต่างๆ เป็นต้น
  • การรับรู้ของกลุ่มเป้าหมาย: แม้แบรนด์แฟรนไชส์ร้านอาหารที่สนใจ จะมีชื่อเสียงและน่าเชื่อถือขนาดไหน แต่ถ้าไม่เป็นที่รู้จักในพื้นที่ที่เราคิดจะเปิดร้าน หรือมีฐานลูกค้าที่ไม่ตรงกับแบรนด์ อย่างเช่น การเปิดร้านขนมหวานในย่านออฟฟิศ หรือเปิดร้านอาหารญี่ปุ่นพรีเมียมในเขตชุมชนอาจจะไม่คุ้มค่าต่อลงทุนได้
  • คุณค่าและความแตกต่างของสินค้าและบริการ: ควรพิจารณาว่าสินค้าและบริการของแฟรนไชส์ที่สนใจ มีเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากแฟรนไชส์รูปแบบเดียวกันอย่างไรบ้าง มีจุดเด่น จุดแข็ง จุดด้อยที่ตรงไหน และยังมีประสิทธิภาพ น่าสนใจ สามารถแข่งขันในตลาดปัจจุบันได้หรือไม่
  • แนวโน้มตลาด: ศึกษาแนวโน้มของตลาดอาหารประเภทนั้นๆ ว่ามีโอกาสเติบโตต่อไปในอนาคตหรือไม่ เพราะเมนูบางประเภทอาจเป็นแค่เมนูกระแสที่อาจอยู่ได้แค่ไม่กี่เดือนเท่านั้น

4. หาข้อมูลเรื่องการดูแลแฟรนไชส์ของแต่ละแบรนด์

หากมองเห็นแล้วว่า แฟรนไชส์ร้านอาหารที่สนใจนั้นน่าเชื่อและมีโอกาสที่จะเติบโตในอนาคต การสนับสนุนจากเจ้าของแฟรนไชส์เป็นปัจจัยถัดมาที่ต้องศึกษาให้ดี เพื่อให้ธุรกิจแฟรนไชส์ของคุณประสบความสำเร็จอย่างราบรื่นที่สุด

  • ระบบหลังบ้าน: แฟรนไชส์ที่ดีควรมีระบบหลังบ้านที่มีประสิทธิภาพ เช่น ระบบการจัดการสินค้าคงคลัง ระบบบัญชี ระบบจัดการพนักงาน และระบบการสั่งซื้อวัตถุดิบ เป็นต้น
  • การฝึกอบรม: แฟรนไชส์ที่ดีควรมีโปรแกรมการฝึกอบรมสำหรับผู้ที่ซื้อแฟรนไชส์และพนักงาน ที่ครอบคลุมทั้งเรื่องของการทำอาหาร การบริการ และการบริหารร้านต่างๆ
  • การตลาดและโปรโมชัน: ควรศึกษาว่าเจ้าของแฟรนไชส์มีแผนการตลาดและโปรโมชันอย่างไรบ้าง และเจ้าของแฟรนไชส์จะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายส่วนนี้เพิ่มเติมหรือไม่ และคุ้มค่าในเม็ดเงินที่ลงทุนหรือไม่ด้วย
  • การสั่งซื้อและการจัดการสต็อก: การที่แฟรนไชส์ร้านอาหารนั้นๆ มีระบบการสั่งซื้อวัตถุดิบและการจัดการสต๊อกที่มีประสิทธิภาพจะช่วยลดต้นทุนและป้องกันปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบได้
  • การแก้ไขปัญหา: และแฟรนไชส์ที่ดี ควรมีทีมงานสนับสนุนที่พร้อมช่วยเหลือเมื่อเจ้าของแฟรนไชส์แต่ละท่านประสบปัญหา

5. เลือกทำเลที่น่าสนใจ และไม่แข่งขันกันเอง

และสุดท้าายทำเลก็เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่สุดที่จะกำหนดความสำเร็จของร้านอาหารแทบจะทุกประเภท และการเลือกทำที่เหมาะสมกับแฟรนไชส์ร้านอาหารที่นำมาเปิด จะถือว่าเป็นบันไดขั้นแรก สู้ความสำเร็จในธุรกิจนี้

  • เลือกทำเลที่เหมาะกับประเภทของแฟรนไชส์: ร้านอาหารแต่ละประเภทเหมาะกับทำเลที่แตกต่างกัน เช่น ร้านกาแฟอาจเหมาะกับย่านออฟฟิศ ในขณะที่ร้านอาหารสไตล์ครอบครัวอาจเหมาะกับย่านชุมชนที่อยู่อาศัย หรือห้างสรรพสินค้ามากกว่า
  • หลีกเลี่ยงการแข่งขันกันเอง: หลายๆ แฟรนไชส์มักมีนโยบายไม่อนุญาตให้เปิดสาขาใกล้กันเกินไป เพื่อป้องกันการแย่งลูกค้ากันเอง ดังนั้น ผู้ที่สนใจจึงควรศึกษาข้อกำหนดเรื่องระยะห่างระหว่างสาขาของแต่ละแฟรนไชส์ รวมถึงตรวจสอบให้ดูว่าทำเลที่สนใจ มีร้านที่เป็นแฟรนไชส์เดียวกันหรือไม่
  • การเข้าถึงและที่จอดรถ: พิจารณาความสะดวกในการเข้าถึงร้านและความเพียงพอของที่จอดรถในกรณีที่เป็นแฟรนไชส์ร้านอาหารขนาดใหญ่
  • กลุ่มลูกค้าในพื้นที่: ศึกษาว่ากลุ่มลูกค้าในพื้นที่นั้นมีความสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายของแฟรนไชส์หรือไม่ เพราะหากกลุ่มลูกค้าไม่ตรงกัน ก็คงยากที่จะทำให้อาหารของเราขายได้
  • ค่าเช่าและเงื่อนไขสัญญา: ค่าเช่าที่ไม่ควรสูงเกินไปจนทำให้ธุรกิจไม่สามารถทำกำไรได้ โดยค่าเช่าที่ที่จะไม่เป็นภาระของธุรกิจนั้น ไม่ควรเกิน 10% ของรายได้ต่อเดือน เพื่อให้แฟรนไชส์ร้านอาหารของเราสามารถทำกำไรได้ และควรศึกษาเงื่อนไขสัญญาเช่าอย่างละเอียด ว่ามีข้อห้าม ข้อกำหนด เงื่อนไขการจ่ายค่าเช่าอย่างไรบ้าง

การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์ร้านอาหารเป็นโอกาสที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการเป็นเจ้าของธุรกิจ แต่การตัดสินใจลงทุนควรผ่านการพิจารณาอย่างรอบคอบ ทั้งในด้านความเหมาะสมกับตัวเอง ต้นทุนและค่าใช้จ่าย โอกาสเติบโต การสนับสนุนจากเจ้าของแฟรนไชส์ และทำเลที่ตั้งเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม

นอกจากนี้ อย่าลืมคำนึงถึงการเลือกใช้อุปกรณ์ที่มีคุณภาพ ไม่ว่าจะเป็น กล่องข้าว กล่องถนอมอาหาร หม้อ ถาด โหลแก้ว เขียงไม้ หรือแก้วต่างๆ เพื่อสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าและสร้างประสบการณ์ที่ดีในการรับประทานอาหาร

 

เลือกซื้อกล่องข้าวที่ปลอดภัยจาก Oceantableware

Oceantableware คือ ผู้จัดจำหน่ายกล่องข้าวพลาสติก, กล่องข้าว, กล่องเก็บอาหาร และอุปกรณ์ครัวอื่นๆ เช่น หม้อ ถาด โหลแก้ว เขียงไม้ แก้ว และแก้วไวน์ที่ได้มาตรฐาน จากแบรนด์ที่น่าเชื่อถือ มีคุณภาพระดับเวิลด์คลาส เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ธุรกิจโรงแรม ร้านอาหาร และจัดเลี้ยง รวมถึงบริษัทและองค์กรต่างๆ จากประสบการณ์กว่า 38 ปี เรามุ่งเน้นการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับประสบการณ์การรับประทานอาหารสู่ความทันสมัยอย่างมีสไตล์ ตอบโจทย์ทุกช่วงเวลาของความสุข ช่วยสร้างช่วงเวลาที่น่าจดจำ โอเชียนกลาสจึงเป็นผู้นำการจัดจำหน่ายมีด และเครื่องครัวอื่นๆ ของเอเชียและส่งออกไปมากกว่า 90 ประเทศทั่วโลก

สอบถามเกี่ยวกับเซตของขวัญได้ที่: 

LINE: @oceanonline

โทร.: 062-390-0075

อีเมล: CS@oceanglass.com